วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บทสรุป Day Trade

บทสรุป Day Trade 19/5/2015

1. Day trade ไม่จำเป็นต้องจบในวัน หากกราฟยังทรงสวย
2. แม้ว่ากราฟจะทรงสวยเท่าไหร่ ถ้าไม่มีเงินจ่ายก็ต้องจบ....เงิบ
3. การยกของราคา ต้องมี Vol support
4. แผนการเทรด ไม่ว่าจะเป็นจุด Stop Loss หรือจุดขายทำกำไร ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
5. ขายแล้ววิ่งต่อ....ช่างมัน เพราะคุณได้ทำตามแผนที่คุณวางไว้แล้ว
6. การรอคอยเป็นเรื่องสำคัญ เพราะบางทีกว่าจะวิ่งก็ต้องรอมาตั้งแต่เปิดตลาด จนถึง 4 โมงเย็นถึงมา...จ้าวรอฤกษ์
7. การเข้า ATO ถ้าให้ดี ควรจบเกมส์ภายใน 10 โมงครึ่ง หรือการวิ่งครั้งแรก ไม่งั้นต้องรอ
8. ช่วงตลาดวิ่ง
            ช่วงที่ 1   10:00 - 10:30
            ช่วงที่ 2   12:00 - 12:30
            ช่วงที่ 3   14:30 - 15:00
            ช่วงที่ 4   16:00 - 16:30
9. ช่วงตลาดไม่วิ่ง คือ ช่วงเวลาที่ควรซื้อ


วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

หา Fair Value ,Target Price มูลค่าพื้นฐาน และราคาเป้าหมายของหุ้นแต่ละตัว

 Fair Value ,Target Price มูลค่าพื้นฐาน และราคาเป้าหมายของหุ้นแต่ละตัว

Fair Value, Target Price, มูลค่าพื้นฐาน ทั้งหมด คือสิ่งเดียวกัน ... ในที่นี้จะขอเรียกว่า Target Price นะครับ

Target Price หาได้ 2 แบบใหญ่

1. Relative approach หรือ Market multiples Approach (เทียบความถูกแพงกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน)

1.1 Price to Book Value --> เอา Book Value ของบริษัทที่คาดการณ์ไว้ในอนาคต 12 เดือนข้างหน้า คูณกับ Price to Book Value Ratio (P/BV ratio) ของอุตสาหกรรมเดียวกัน ประมาณว่า โดยทฤษฏีแล้ว ความถูกแพงในระยะยาวของหุ้นแต่ละตัวจะปรับเข้าสู่ตัวเลขใกล้ ๆ กัน คือ ควรจะมี P/BV ใกล้ ๆ กันทั้งอุตสาหกรรม 

1.2 Price to Earning --> เอากำไรต่อหุ้น (Earning per share) ของบริษัที่คาดการณ์ไว้ในอนาคต 12 เดือนข้างหน้า คูณกับ Price to Earning Ratio (P/E Ratio) ของอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยอิงหลักการเหมือน P/BV

คูณกันแล้วได้ค่าออกมาเท่าไร ก็คือ Target Price ที่ได้จากวิธี Relative Approach

2. Discount Cash Flow Approach (คิดลดกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคต)

2.1 Dividend Discount เอาประมาณการเงินปันผลที่ผู้ลงทุนจะได้รับในอนาคต (สูตรคณิตศาสตร์สามารถคำนวณ cash flow ที่ไม่รู้จบให้มาเป็นก้อนนิ่ง ๆ ได้) มาคิดเป็นมูลค่าในวันนี้ 

2.2 Free Cash Flow Discount เอาประมาณการกระแสเงินสดสุทธิที่เจ้าของกิจการจะได้รับในอนาคต มาคิดเป็นมูลค่าในวันนี้

เจ้าก้อนของมูลค่าในวันนี้ ก็คือ Target Price ที่ได้จากวิธี Discount Cash Flow Approach

ในการพิจารณา Target Price ต้องทำหลาย ๆ วิธี และดู Range ของตัวเลขที่คำนวณได้ ไม่ใช่การคำนวณออกมาค่าเดียวแล้วฝังใจใช้ไปเลย เพราะอนาคตไม่แน่นอน แต่ก็จะมีช่วงราคาที่มันเป็นไปได้อยู่ช่วงหนึ่ง ไม่ใช่จุดใดจุดเดียว ในการตัดสินใจลงทุน ก็ดูว่า ราคาตลาดในปัจจุบัน มันอยู่แถว ๆ ไหน เมื่อเทียบกับช่วงที่คำนวณได้นั้น เช่น ตอนนี้ราคา 50 บาท แต่คำนวณช่วงราคาที่ควรเป็นได้ประมาณ 70-90 บาท แบบนี้ถือว่าน่าสนใจ เพราะขอบล่าง สูงกว่าราคาปัจจุบัน แต่ราคาคำนวณได้ที่ 45-60 บาท แบบนี้ก็น่าสนใจน้อยลงมา เพราะก้ำกึ่ง

ทั้งนี้ เราสามารถศึกษาการวิเคราะห์หา Target Price หรือ Fair Price เพิ่มเติมได้จาก 

1. Research Paper ของค่ายต่าง ๆ ที่เปิดเผยไว้ใน settrade.com หน้า IAA Consensus 

อย่างในรูปเป็นตัวอย่างของหุ้น SCB ซึ่งอย่างค่าย Trinity (เปิดดูไฟล์ PDF) เขาใช้วิธีง่ายหน่อย คือ เทียบกับ P/BV 
(http://www.settrade.com/AnalystConsensus/C04_10_stock_saa_p1.jsp?selectPage=10&txtSymbol=SCB)

2. เอกสารที่ Financial Adviser เปิดเผยต่อตลาด เมื่อมีดีลซื้อขายกิจการ

อย่างในรูป เป็นดีลที่บริษัท EE ซื้อหุ้นโรงไฟฟ้า ก็จะต้องมีการคำนวณหามูลค่าที่เหมาะสมของกิจการ เพื่อเทียบว่า ราคาที่ซื้อขายกันนั้น สมเหตุผลหรือไม่ โดยลองคำนวณหลาย ๆ วิธีแล้วเอามาดูว่า Range เป็นอย่างไร ซึ่งรูปที่คัดมา เป็นแค่บางช่วงบางตอนเท่านั้น เพื่อให้พอได้กลิ่น แนะนำให้ดูเอกสารฉบับสมบูรณ์จะดีที่สุดครับ
(http://www.set.or.th/set/pdfnews.do?file=http%3A%2F%2Fwww.set.or.th%2Fdat%2Fnews%2F201411%2F14070348.pdf)








3. ตำราวิชาการด้านการลงทุน (คนที่ทำข้อ 1 ข้อ 2 ก็เรียนมาจากข้อ 3 นี่ล่ะครับ) 

อย่างในรูป เป็นหนังสือเตรียมสอบ CISA Level 2 ในหมวด การประเมินมูลค่าสินทรัพย์ครับ
(http://www.tsi-thailand.org/index.php?option=com_content&task=view&id=1193&Itemid=991%20)

• http://www.facebook.com/ThInvestForum
• http://thailandinvestmentforum.com

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สูตรในการเล่นหุ้นซิลลิ่ง


สูตรในการเล่นหุ้นซิลลิ่ง(ผลรับรอง~50%)

1.เปิดตลาดเช้าดูticker เลือกตัวที่เห็นบ่อยๆมา5ตัว

2. Efin กด F6 สแกนหุ้น ใส่ชื่อหุ้นมันจะบอก %CMPR


เปลี่ยนวิธี(วิธีนี้ได้ผล 80 เปอร์เซ็นต์)
1. ตื่นมา 10.00 เปิดหน้า ticker คู่กับหน้า scan F6 นั่งจดหุ้นที่วิ่งเยอะ ๆ จนถีง 11 โมง แล้วเอามาเปรียบเทียบกับ F6 ว่ามีตัวไหนตรงกันบ้าง ดูตัวที่เปอร์เซ็น CMPR เยอะๆ เกิน 500 ยิ่งดี

2. เก็บหุ้นไว้ในwatch list เราก็คอยตามดู % ใน portfolio ได้
(*CMPR = Compare Average Volume 5 วัน คือ %vol เทียบกับ เมื่อเทียบกับ 5 วันที่ผ่านมา เป็นการสะสมวอลุ่มที่มากขึ้นเรื่อยๆครับ หากสูงแสดงว่าเล่นกันเยอะในวันนั้น เช่น 500% คือ 5 เท่าของค่าเฉลี่ย 5 วัน)
-ควรเล่นในกลุ่มที่กำลังขึ้น และราคายังไปต่อได้ ฉะนั้นควรเล่นในช่วงตลาดขาขึ้น
-
พวกที่จะซิลลิ่งได้ จะมีโวลุ่มไม่มาก และไม่ใช่หุ้นมหาชน(เพราะเจ้าลากไปซิลลิ่งไม่ไหว) ส่วนใหญ่ เป็นหุ้นตัวเล็กๆ


สรุปคือ พอมาดู พอร์ตโฟลิโอแล้ว เจอหุ้นที่วิ่งมาสัก 15 เปอร์เซ็นต์ เข้าเลย เข้าแล้วไม่ต้องตกใจ บางทีมันไหลลงมา 2-3 ช่อง ลงเร็ว เดี๋ยววิ่งต่อ เข้า15% แล้ว21%มักขายครึ่วนึงก่อน


-*วิธีเล่น คือ ทยอยขาย*
-watch list 5ตัว แต่เล่นจริงๆ2-3ตัวก็พอ
-ก่อนหน้าจะเล่น ดูแนวรับแนวต้านเก่าด้วยก็จะยิ่งดี ควรดูกราฟไว้ตั้งแต่คืนก่อนเปิดตลาด หาข่าวinside
-จุดสำคัญคือ ต้องคัทให้ทัน ภายใน 2-3 ช่อง โดยตั้งMP(market price)เลย
-ยก ตย. อย่างหุ้น กลุ่มเนชัน(nmg nine nbc) วันศุกร์ม้นวิ่งไปสองตัว เชื่อมั้ยว่า วันอังคาร ตัวที่เหลือ ต้องมา
 

-สรุป**
กฏข้อแรก ดู ticker
กฏข้อสอง เล่นตอน 11 โมง
กฏข้อสาม เลือกหุ้นที่ได้เปอร์เซ็นต์จะซิลลิ่ง
กฏข้อที่สี่ ขายตรงซิลลิ่งให้ได้
(ช่วงเช้าๆบางที ที่โวลุ่มเข้า จะเป็นการซื้อหรือขายออก มันจะเหวี่ยงแรงๆ %CMPR อาจจะไม่ชัดเจน แต่พอ 11 โมง จะมีหุ้นตัวเด่นๆเริ่มฉายแววออกมา ช่วงบ่ายให้เข้าหุ้นที่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ไปแล้ว


CR. Stock Short Note by me

Divergence คืออะไร

คำภีร์ยุทธ เพลงกระบี่เย้ยยุทธจักร
divergence คืออะไร
Divergence คือรูปแบบทางกราฟเทคนิคชนิดหนึ่ง ที่นักเทคนิคคอลมักใช้ดูเป็นสัญญาญกลับตัวของราคา ปกติจะมีอยู่ 2 แบบ คือ bullish divergence และ bearish divergence
1. Bullish divergence เป็นสัญญาณซื้อที่เกิดในช่วงขาลง แล้วกำลังจะกลับตัวเป็นขาขึ้น วิธีการดูก็คือให้ดูการขัดแย้งกันของ Indicator ( RSI หรือ MACD ) กับ ราคา จากตัวอย่างดังรูปข้างล่างจะเห็นว่าราคาลดต่ำลงมาเรื่อยๆ แต่ RSI ทำจุดต่ำสุด 2 จุดยกสูงขึ้น นั่นแปลว่าราคาอาจจะมีการกลับตัวในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ให้เฝ้าดูหุ้นที่มีสัญญาณแบบนี้ไว้ให้ดี
ข้อควรระวัง: บางครั้งสัญญาณ bullish divergence เกิดขึ้นก็จริง แต่ราคาก็อาจจะไปได้ไม่ไกล นักลงทุนบางท่านขายไม่ทันทำให้กำไรอาจกลายเป็นขาดทุน ดังนั้นหากเราใช้สัญญาณ bullish divergence ร่วมกับ EMA10 หรือ EMA25 วันด้วยแล้วละก็จะทำให้แน่ใจได้ว่าสัญญาณอาจจะเป็นขาขึ้นจริง โดยมีจุดเข้าซื้อเมื่อราคายืนเหนือเส้น EMA ได้ (จุดวงกลมสีดำ)



2. Bearish divergence เป็นสัญญาณขายที่เกิดในช่วงขาขึ้น แล้วกำลังกลับตัวลง วิธีการดูก็คือให้ดูการขัดแย้งกันของ Indicator ( RSI หรือ MACD ) กับ ราคา จากตัวอย่างดังรูปข้างล่างจะเห็นว่าราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ RSI ทำยอดสูงสุดลดต่ำลง นั่นแปลว่าราคาอาจจะมีการกลับตัวเป็นขาลงในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ถ้าใครมีหุ้นก็อย่าเพิ่งซื้อแต่ให้เตรียมขายจะดีกว่า จุดขายที่ดีคือเมื่อราคาปิดต่ำกว่าเส้น EMA10 หรือ EMA25 วัน (ตรงจุดวงกลมสีดำ) จริงๆแล้วไม่อยากให้ยึดติดกับตัวเลขจำนวนวัน ของ EMA เท่าไรนัก เพราะนักลงทุนแต่ละท่านมีระยะการลงทุนที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นผมแนะนำว่าหากใครเล่นระยะไหนก็ควรปรับเส้น EMA ตามสไตล์ของแต่ละคนจะดีกว่า
บางครั้งการเกิดสัญญาณ divergence อาจจะเกิดมากกว่า 2 จุด คืออาจจะมี 3 จุด หรือถ้าจะมองให้ง่ายขึ้นก็คือ มียอดเขามากกว่า 2 ลูก หรือมีก้นเหวมากกว่า 2 เหวก็ได้ (งงขึ้นไหม!) คือผมกำลังจะบอกว่าบางครั้ง 2 จุดมันไม่เกิดสัญญาณ แต่อาจจะเกิดสัญญาณกลับตัวในจุดที่ 3 ก็ได้ เพราะฉะนั้นเห็นสัญญาณ divergence แล้วก็อย่าเพิ่งรีบร้อนซื้อ หรือขายในทันทีให้ใช้ EMA confirm หรือใช้ร่วมกับ Indicator ตัวอื่นก็จะได้ผลยิ่งขึ้น