Fair Value ,Target Price มูลค่าพื้นฐาน และราคาเป้าหมายของหุ้นแต่ละตัว
Fair Value, Target Price, มูลค่าพื้นฐาน ทั้งหมด คือสิ่งเดียวกัน ... ในที่นี้จะขอเรียกว่า Target Price นะครับ
Target Price หาได้ 2 แบบใหญ่
1. Relative approach หรือ Market multiples Approach (เทียบความถูกแพงกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน)
1.1 Price to Book Value --> เอา Book Value ของบริษัทที่คาดการณ์ไว้ในอนาคต 12 เดือนข้างหน้า คูณกับ Price to Book Value Ratio (P/BV ratio) ของอุตสาหกรรมเดียวกัน ประมาณว่า โดยทฤษฏีแล้ว ความถูกแพงในระยะยาวของหุ้นแต่ละตัวจะปรับเข้าสู่ตัวเลขใกล้ ๆ กัน คือ ควรจะมี P/BV ใกล้ ๆ กันทั้งอุตสาหกรรม
1.2 Price to Earning --> เอากำไรต่อหุ้น (Earning per share) ของบริษัที่คาดการณ์ไว้ในอนาคต 12 เดือนข้างหน้า คูณกับ Price to Earning Ratio (P/E Ratio) ของอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยอิงหลักการเหมือน P/BV
คูณกันแล้วได้ค่าออกมาเท่าไร ก็คือ Target Price ที่ได้จากวิธี Relative Approach
2. Discount Cash Flow Approach (คิดลดกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคต)
2.1 Dividend Discount เอาประมาณการเงินปันผลที่ผู้ลงทุนจะได้รับในอนาคต (สูตรคณิตศาสตร์สามารถคำนวณ cash flow ที่ไม่รู้จบให้มาเป็นก้อนนิ่ง ๆ ได้) มาคิดเป็นมูลค่าในวันนี้
2.2 Free Cash Flow Discount เอาประมาณการกระแสเงินสดสุทธิที่เจ้าของกิจการจะได้รับในอนาคต มาคิดเป็นมูลค่าในวันนี้
เจ้าก้อนของมูลค่าในวันนี้ ก็คือ Target Price ที่ได้จากวิธี Discount Cash Flow Approach
ในการพิจารณา Target Price ต้องทำหลาย ๆ วิธี และดู Range ของตัวเลขที่คำนวณได้ ไม่ใช่การคำนวณออกมาค่าเดียวแล้วฝังใจใช้ไปเลย เพราะอนาคตไม่แน่นอน แต่ก็จะมีช่วงราคาที่มันเป็นไปได้อยู่ช่วงหนึ่ง ไม่ใช่จุดใดจุดเดียว ในการตัดสินใจลงทุน ก็ดูว่า ราคาตลาดในปัจจุบัน มันอยู่แถว ๆ ไหน เมื่อเทียบกับช่วงที่คำนวณได้นั้น เช่น ตอนนี้ราคา 50 บาท แต่คำนวณช่วงราคาที่ควรเป็นได้ประมาณ 70-90 บาท แบบนี้ถือว่าน่าสนใจ เพราะขอบล่าง สูงกว่าราคาปัจจุบัน แต่ราคาคำนวณได้ที่ 45-60 บาท แบบนี้ก็น่าสนใจน้อยลงมา เพราะก้ำกึ่ง
ทั้งนี้ เราสามารถศึกษาการวิเคราะห์หา Target Price หรือ Fair Price เพิ่มเติมได้จาก
1. Research Paper ของค่ายต่าง ๆ ที่เปิดเผยไว้ใน settrade.com หน้า IAA Consensus
อย่างในรูปเป็นตัวอย่างของหุ้น SCB ซึ่งอย่างค่าย Trinity (เปิดดูไฟล์ PDF) เขาใช้วิธีง่ายหน่อย คือ เทียบกับ P/BV
(http://www.settrade.com/AnalystConsensus/C04_10_stock_saa_p1.jsp?selectPage=10&txtSymbol=SCB)
Target Price หาได้ 2 แบบใหญ่
1. Relative approach หรือ Market multiples Approach (เทียบความถูกแพงกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน)
1.1 Price to Book Value --> เอา Book Value ของบริษัทที่คาดการณ์ไว้ในอนาคต 12 เดือนข้างหน้า คูณกับ Price to Book Value Ratio (P/BV ratio) ของอุตสาหกรรมเดียวกัน ประมาณว่า โดยทฤษฏีแล้ว ความถูกแพงในระยะยาวของหุ้นแต่ละตัวจะปรับเข้าสู่ตัวเลขใกล้ ๆ กัน คือ ควรจะมี P/BV ใกล้ ๆ กันทั้งอุตสาหกรรม
1.2 Price to Earning --> เอากำไรต่อหุ้น (Earning per share) ของบริษัที่คาดการณ์ไว้ในอนาคต 12 เดือนข้างหน้า คูณกับ Price to Earning Ratio (P/E Ratio) ของอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยอิงหลักการเหมือน P/BV
คูณกันแล้วได้ค่าออกมาเท่าไร ก็คือ Target Price ที่ได้จากวิธี Relative Approach
2. Discount Cash Flow Approach (คิดลดกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคต)
2.1 Dividend Discount เอาประมาณการเงินปันผลที่ผู้ลงทุนจะได้รับในอนาคต (สูตรคณิตศาสตร์สามารถคำนวณ cash flow ที่ไม่รู้จบให้มาเป็นก้อนนิ่ง ๆ ได้) มาคิดเป็นมูลค่าในวันนี้
2.2 Free Cash Flow Discount เอาประมาณการกระแสเงินสดสุทธิที่เจ้าของกิจการจะได้รับในอนาคต มาคิดเป็นมูลค่าในวันนี้
เจ้าก้อนของมูลค่าในวันนี้ ก็คือ Target Price ที่ได้จากวิธี Discount Cash Flow Approach
ในการพิจารณา Target Price ต้องทำหลาย ๆ วิธี และดู Range ของตัวเลขที่คำนวณได้ ไม่ใช่การคำนวณออกมาค่าเดียวแล้วฝังใจใช้ไปเลย เพราะอนาคตไม่แน่นอน แต่ก็จะมีช่วงราคาที่มันเป็นไปได้อยู่ช่วงหนึ่ง ไม่ใช่จุดใดจุดเดียว ในการตัดสินใจลงทุน ก็ดูว่า ราคาตลาดในปัจจุบัน มันอยู่แถว ๆ ไหน เมื่อเทียบกับช่วงที่คำนวณได้นั้น เช่น ตอนนี้ราคา 50 บาท แต่คำนวณช่วงราคาที่ควรเป็นได้ประมาณ 70-90 บาท แบบนี้ถือว่าน่าสนใจ เพราะขอบล่าง สูงกว่าราคาปัจจุบัน แต่ราคาคำนวณได้ที่ 45-60 บาท แบบนี้ก็น่าสนใจน้อยลงมา เพราะก้ำกึ่ง
ทั้งนี้ เราสามารถศึกษาการวิเคราะห์หา Target Price หรือ Fair Price เพิ่มเติมได้จาก
1. Research Paper ของค่ายต่าง ๆ ที่เปิดเผยไว้ใน settrade.com หน้า IAA Consensus
อย่างในรูปเป็นตัวอย่างของหุ้น SCB ซึ่งอย่างค่าย Trinity (เปิดดูไฟล์ PDF) เขาใช้วิธีง่ายหน่อย คือ เทียบกับ P/BV
(http://www.settrade.com/AnalystConsensus/C04_10_stock_saa_p1.jsp?selectPage=10&txtSymbol=SCB)
2. เอกสารที่ Financial Adviser เปิดเผยต่อตลาด เมื่อมีดีลซื้อขายกิจการ
อย่างในรูป เป็นดีลที่บริษัท EE ซื้อหุ้นโรงไฟฟ้า ก็จะต้องมีการคำนวณหามูลค่าที่เหมาะสมของกิจการ เพื่อเทียบว่า ราคาที่ซื้อขายกันนั้น สมเหตุผลหรือไม่ โดยลองคำนวณหลาย ๆ วิธีแล้วเอามาดูว่า Range เป็นอย่างไร ซึ่งรูปที่คัดมา เป็นแค่บางช่วงบางตอนเท่านั้น เพื่อให้พอได้กลิ่น แนะนำให้ดูเอกสารฉบับสมบูรณ์จะดีที่สุดครับ
(http://www.set.or.th/set/pdfnews.do?file=http%3A%2F%2Fwww.set.or.th%2Fdat%2Fnews%2F201411%2F14070348.pdf)
อย่างในรูป เป็นดีลที่บริษัท EE ซื้อหุ้นโรงไฟฟ้า ก็จะต้องมีการคำนวณหามูลค่าที่เหมาะสมของกิจการ เพื่อเทียบว่า ราคาที่ซื้อขายกันนั้น สมเหตุผลหรือไม่ โดยลองคำนวณหลาย ๆ วิธีแล้วเอามาดูว่า Range เป็นอย่างไร ซึ่งรูปที่คัดมา เป็นแค่บางช่วงบางตอนเท่านั้น เพื่อให้พอได้กลิ่น แนะนำให้ดูเอกสารฉบับสมบูรณ์จะดีที่สุดครับ
(http://www.set.or.th/set/pdfnews.do?file=http%3A%2F%2Fwww.set.or.th%2Fdat%2Fnews%2F201411%2F14070348.pdf)
3. ตำราวิชาการด้านการลงทุน (คนที่ทำข้อ 1 ข้อ 2 ก็เรียนมาจากข้อ 3 นี่ล่ะครับ)
อย่างในรูป เป็นหนังสือเตรียมสอบ CISA Level 2 ในหมวด การประเมินมูลค่าสินทรัพย์ครับ
(http://www.tsi-thailand.org/index.php?option=com_content&task=view&id=1193&Itemid=991%20)
อย่างในรูป เป็นหนังสือเตรียมสอบ CISA Level 2 ในหมวด การประเมินมูลค่าสินทรัพย์ครับ
(http://www.tsi-thailand.org/index.php?option=com_content&task=view&id=1193&Itemid=991%20)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น